หน้าเเรก / กิจกรรม / บทความวิชาการ หยิบดี | "การป้องกั...

บทความวิชาการ หยิบดี | "การป้องกันมอดในสวนกาแฟ"

โดย : วิสูตร อาสนวิจิตร เผยแพร่เมื่อ : 15 มี.ค. 2565 เเชร์กิจกรรมนี้ :  

บทความวิชาการ หยิบดี |

หยิบดี | "การป้องกันมอดในสวนกาแฟ" ■ จากบทความของ Sirichai,2019 [1] ได้เขียนถึงความเร็วในการแพร่กระจายของมอดสมมุติว่านำมอด 1 ตัวไปปล่อยไว้ในสวนกาแฟ สิ่งที่เกิดขึ้นคือมอดสามารถวางไข่ได้ประมาณ 60 -100 ใบต่อผลกาแฟ 1 ผล •ดังนั้นสมมุติว่า มอด 1 ตัว สามารถผลิตมอดโตเต็มวัยได้ประมาณ 20 ตัว สมมุติว่าตั้งแต่วางไข่จนได้ตัวเต็มวัยใช้เวลาอยู่ที่ 30 วัน เมื่อเวลาผ่านไป 5 เดือน • วิธีคำนวนง่ายๆ คือมอดสามารถเติบโตได้ด้วยอัตราเร่งแบบ Exponential คือ 20 ยกกำลัง 5 ดังนั้นมอด 1 ตัวเมื่อผ่านไป 5 เดือน จะมีมอดในสวนกาแฟทั้งหมด 3,200,000 ตัว (สามล้านสองแสนตัว) • ถ้าคำนวนคร่าวๆ ว่ามอด 3.2 ล้านตัวโจมตีเมล็ดกาแฟแต่ละเมล็ด เท่ากับว่าเมล็ดกาแฟเสียหายกว่า 3.2 ล้านเมล็ดคิดเป็นน้ำหนักรวมทั้งหมดประมาณ 640 กิโลกรัม (เมล็ดสาร 1 เมล็ดหนัก 0.2 กรัม) หรือมูลค่ากว่า 102,400 บาท (ราคากาแฟสารกิโลละ 160 บาท) ■ จากงานวิจัย Mendesil et al., 2004 [2] พบว่ามอดจะโจมตีผลกาแฟอย่างหนักช่วงที่ผลกาแฟเริ่มสุก โดยเจาะเข้าทางฐานใต้ผลกาแฟ เนื่องจากกาแฟเป็นพืชที่ติดผลปีละครั้งมอดจำเป็นต้องมีที่อยู่ในช่วงที่ผลกาแฟยังไม่ติดผล และที่อยู่นั่นคือผลที่แห้งคาต้นหรือผลที่ร่วงอยู่บนพื้น • Mendesil et al., 2004 [2] พบว่าจำนวนของมอดในผลกาแฟที่ค้างอยู่บนต้นมีจำนวนมากกว่าผลกาแฟที่ตกอยู่ที่พื้น แสดงว่ามอดชอบผลกาแฟที่แห้งคาต้นมากกว่าผลกาแฟที่ตกบนพื้นแต่ในกรณีที่ไม่มีผลกาแฟแห้งคาต้น ผลกาแฟที่หล่นบนพื้นก็เป็นหนึ่งแหล่งขยายพันธุ์ของมอด ดังนั้นการทำลายเมล็ดกาแฟที่ค้างคาต้น หรือตกหล่นน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไม่ให้มอดแพร่กระจาย และป้องกันไม่ให้มอดข้ามจากฤดูกาลหนึ่งไปยังอีกฤดูกาลหนึ่ง ■ สรุป : มอดเป็นแมลงศัตรูพืชของกาแฟที่ใช้เวลากว่า 90% อาศัยอยู่ในผลกาแฟ ทำให้ไม่สามารถใช้วิธีใดวิธีหนึ่งในการกำจัดได้ แต่เป็นปัญหาที่ต้องแก้ด้วยความอดทนและใส่ใจวิธีป้องกันมอดที่ทางทีมงาน Coffeesci ได้หาข้อมูลมา จึงขอนำเสนอวิธีให้กับพี่ๆ น้องๆ เกษตรกรได้นำไปปรับใช้กัน ดังนี้นะครับ 1.ทำลายผลกาแฟที่มีมอดเจาะ 2.เก็บผลกาแฟที่แห้งคาต้น และตกหล่นมาใส่กระป๋องน้ำออกมาทำลายนอกพื้นที่สวน 3.กับดักสามารถใช้ลดการแพร่กระจาย และบ่งบอกถึงจำนวนของมอดในสวนได้ 4.ป้องกันไม่ให้มอดหลุดเข้ามาที่สวน 5.การปลูกต้นไม้ จัดระบบนิเวศภายในสวนเพื่อให้เกิดการจัดการภายในสวนแบบธรรมชาติ เช่น นกมากิน หรือสัตว์ต่างๆ มากิน ■ อ้างอิงที่มาข้อมูล [1] Sirichai, "วงจรชีวิตของมอดกาแฟ (Coffee Berry Borer)และวิธีป้องกันมอดในกาแฟ," JULY, 19, 2019.[Online]. Available: https://beanshere.com/.../understand-coffee-berry-borer/... [2] E.Mendesil, B.Jembere and E.Seyoum,"Population dynamics and distribution of the coffee berry borer, Hypothenemus hampei (Ferrari) (Coleoptera: Scolytidae) on Coffea arabica L. in Southwestern Ethiopia," SINET Ethiopian Journal of Science,vol.27,no.2, pp.127–134, 2004. #หยิบดี #สุขโปรเจค #CoffeeSci #Khartsu #ยินดีที่ได้ช่วยพัฒนากาแฟไทย

เเชร์กิจกรรมนี้ :  

ผลการดำเนินงาน

มีผู้ติดตามผ่านทาง : https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=5170858496292629&id=100001055881504


คลังรูปภาพ : บทความวิชาการ หยิบดี | "การป้องกันมอดในสวนกาแฟ"...

กิจกรรมที่น่าสนใจ
เข้าร่วมกิจกรรมวันรักต้นไ...

เข้าร่วมกิจกรรมวันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ.2566...


วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เข...

ผ่านรูปแบบออนไลน์ ZOOM พร้อมได้รับเกียรติบัตร...


พิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 1...

พิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 19 รูป วันสถาปนา มทร.ล้านน...


ประชุมสถาบันถ่ายทอดเทคโนโ...

ประชุมสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชม ประจำเดือนตุล...


เข้าฝึกอบรม หลักสูตร หมวด...

เข้าฝึกอบรม หลักสูตร หมวดการพัฒนาองค์ความรู้ การบร...


คำสั่ง เรื่อง ให้ข้าราชกา...

คำสั่ง สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยเ...


การปั้นซองดอกไม้จากดินไทย...

การปั้นซองดอกไม้จากดินไทย ...


อบรม ระบบฐานข้อมูลการให้บ...

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดโครงการฝึกอ...


เข้าฝึกอบรมเรียนรู้หลักสู...

ฝึกอบรมเรียนรู้หลักสูตรการพัฒนาทักษะอาชีพ Financia...


เข้าร่วม พิธีเปิดโครงการป...

วันที่ 11 เมษายน 2566 นายบุญฤทธิ์ สโมสร ผู้ช่...


กิจกรรมทั้งหมด