หน้าเเรก / กิจกรรม / สถช.ได้รับเชิญเป็นวิทยากรถ่ายทอดอ...

สถช.ได้รับเชิญเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการพัฒนาเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านอย่างเป็นระบบ ณ ชุมชนบ้านหลวง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

โดย : คเชนทร์ เครือสาร เผยแพร่เมื่อ : 30 ต.ค. 2564 เเชร์กิจกรรมนี้ :  

สถช.ได้รับเชิญเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการพัฒนาเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านอย่างเป็นระบบ ณ ชุมชนบ้านหลวง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2564 นายคเชนทร์ เครือสาร และ นายสิงหล วิชายะ บุคลากรประจำศูนย์เรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีเซรามิก ซึ่งเป็นหนึ่งในงานศูนย์เรียนรู้สู่การปฏิบัติภายใต้การดำเนินงานของสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้รับเชิญเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการพัฒนาเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านอย่างเป็นระบบ ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน บ้านหลวงโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ( 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) โดยมี นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส เป็นหัวหน้าโครงการ ณ ชุมชนบ้านหลวง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ สำหรับการจัดกิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการพัฒนาเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้าน ด้วยการสาธิตสร้างผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง "ปั้นควายยิ้ม" ผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP งานแฮนด์เมด สามารถใช้เป็นของฝากเป็นของที่ระลึก และช่วยสร้างงานอุตสาหกรรมให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน บ้านหลวงโหล่งขอด โดยมีการดำเนินงาน แยกเป็น 2 เรื่องหลัก ดังนี้ การสร้างแบบ สเก็ตแบบเพื่อนำเสนอกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านหลวงจำนวน 15 แบบโดยรวม ไปดูสถานการณ์วิธีการทำงานการผลิตความพร้อม ของชุมชนศักยภาพในการผลิตแนวทางการประกอบวิชาชีพของชุมชนเพื่อหากระบวนการการผลิตและรูปแบบที่เหมาะสมให้กับชุมชน พร้อมขอคำแนะนำจากผู้ประกอบการในเรื่องรูปแบบ รูปแบบควายยิ้ม สเก็ตขนาดรูปแบบควายในอริยบทต่างๆ เพื่อนำเสนอและขอคำชี้แนะร่วมกับผู้ประกอบการของวิสาหกิจชุมชนบ้านหลวง จำนวน 8 แบบ นำรูปแบบที่ ใช้มาปรับรูปแบบและเขียนแบบ มาตราส่วน 1:1 ทำการปั้นต้นแบบ มาตราส่วน 1 ต่อ 1 ถ่ายรูปในแต่ละมุมส่งให้ผู้ประกอบการดูรายละเอียดสอบถามถึงลักษณะอิริยาบทของต้นแบบที่ถ่ายทอดออกมาใช้คำชี้แนะเพื่อให้ผู้ประกอบการมีส่วนร่วมในการเลือกตัดสินใจของรูปแบบที่จะถ่ายทอดออกมา เมื่อสรุปเรื่องต้นแบบ ได้แล้วทำการตกแต่งเก็บรายละเอียด ของต้นแบบให้ครบ นำต้นแบบดินน้ำมันมาทำการถอดแม่พิมพ์รูปแบบทำต้นแบบถาวร แกะแม่พิมพ์จากต้นแบบเสมือนนำมาประกอบหล่อต้นแบบถาวรด้วยปูนปลาสเตอร์ แกะแม่พิมพ์ทุบออกจากต้นแบบปูนปลาสเตอร์ทำการตกแต่งต้นแบบให้มีความครบขั้นตามที่ต้นทาง ทำการแบ่งแม่พิมพ์โดยเป็นแม่พิมพ์ อุตสาหกรรม การ ปั่นรูปครบการอัด ทำแม่พิมพ์อัดจากต้นแบบที่คัดเลือกมา 5 รูปแบบออกเป็นส่วนๆ และสามารถประกอบกลับรัดเชือกแล้วใช้ดินอัดให้มีความหนาขนาดใกล้เคียงกับทุกส่วนเติมกลับแต่ละจุดให้เป็นเนื้อเดียวกันให้ติดตัว แล้วแกะแม่พิมพ์ออกตกแต่งตามรอยเตาปั๊ม ตรวจสอบจุดต่อต่างๆเมื่อเสร็จทิ้งให้แห้งสนิทนำไปเผา ที่ 900 องศาเซลเซียส นำเสนอทาสีหรือตกแต่งด้วยสีอะคริลิคหรือเชือกต่างๆ การขึ้นรูปด้วยการอัดบีบรูปด้วยแม่พิมพ์หัตถอุตสาหกรรม ศึกษาข้อมูลจากสถานประกอบการจริงจากวิสาหกิจชุมชน บ้านหลวง โหล่งขอดดูศักยภาพในการผลิต สเก็ตดีไซน์นำเสนอในหัวข้ออริยาบทควายบ้านหลวงร่วมกับผู้ประกอบการ คัดเลือกรูปแบบ นำมาเขียนแบบ มาตราส่วน 1 ต่อ 1 ปั้นต้นแบบด้วยดินน้ำมันตามแบบ ถ่ายรูปในแต่ละด้านส่งให้ผู้ประกอบการดูและขอคำแนะนำในเรื่องรูปแบบและการตกแต่งควบคู่กัน ทำต้นแบบถาวรเพื่อใช้ในการถอดแม่พิมพ์ ตกแต่งแบบพร้อมแบ่งแม่พิมพ์ออกเป็นชิ้นตามแบบ ทำแม่พิมพ์หัตถอุตสาหกรรมตามที่แบ่งไว้ แกะออกทำความสะอาดแม่พิมพ์ ทำการอัดรูปด้วยการอัดโดยใช้ดินของชุมชนคือดินแดงเอิทเทนแวร์ อัดลงในแม่พิมพ์แต่ละชิ้นให้มีความหนาประมาณ 1 ซม. ทุกส่วนให้ใกล้เคียงกัน โดยเว้นขอบข้างทุกด้านให้เอียงประมาณ 45 องศาเซลเซียส นำแม่พิมพ์ในแต่ละด้านมาประกอบกัน แล้วใช้เนื้อดินเป็นเส้นเชื่อมรอยต่อของตะเข็บในแต่ละชิ้นให้สนิทกัน เมื่อเชื่อมเสร็จแล้วตกแต่งขอบและด้านในของชิ้นงานให้เรียบร้อยทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที รอให้ปูนปลาสเตอร์ดูดความชื้นของดินให้หมาดหรือเซตตัวพอประมาณ แกะแม่พิมพ์ในแต่ละด้านออกทีละชิ้นและทำการตกแต่งตะเข็บรอยต่อและพื้นผิวต่างๆให้สวยงาม เก็บชิ้นงานในอุณหภูมิห้องให้แห้งอย่างช้าๆ เมื่อแห้งสนิท นำไปเผาที่อุณหภูมิ 800-900 องศาเซลเซียส นำไปตกแต่งต่อ เช่น ทาสี,ใช้เชือดมัดตกแต่ง ฯ

เเชร์กิจกรรมนี้ :  

ผลการดำเนินงาน

วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2564 นายคเชนทร์ เครือสาร และ นายสิงหล วิชายะ บุคลากรประจำศูนย์เรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีเซรามิก ซึ่งเป็นหนึ่งในงานศูนย์เรียนรู้สู่การปฏิบัติภายใต้การดำเนินงานของสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้รับเชิญเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการพัฒนาเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านอย่างเป็นระบบ ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน บ้านหลวงโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ( 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) โดยมี นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส เป็นหัวหน้าโครงการ ณ ชุมชนบ้านหลวง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่


คลังรูปภาพ : สถช.ได้รับเชิญเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนก...

กิจกรรมที่น่าสนใจ
บรรยายพิเศษ การตัดต่อวิดี...

วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๔ เวลา ๐๙.๐๐ น. ถึง ๑๖.๐๐ น. ...


วิทยบริการฯ จัดสอบมาตรฐาน...

วันนี้ 24 ธันวาคม 2564 สำนักวิทยบริการและเทคโ...


เข้าร่วม โครงการ “สืบสานว...

กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การแสดงนิทรรศการและกิจ...


ประชุมคณะกรรมการจัดทำวารส...

ประชุมคณะกรรมการจัดทำวารสารวิชาการรับใช้สังคม (RMU...


พิธีวางพานพุ่มวันสมเด็จพร...

พิธีวางพานพุ่มวันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เนื่องในวั...


กิจกรรมการพัฒนาทักษะการวา...

โดยได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ศุภชัย อัครนร...


อบรมและพัฒนา...

เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ด้านงานสารบรรณ ...


สรงน้ำพระพุทธสิหิงค์และสั...

โครงการสืบสานประเพณีปีใหม่เมือง 2564 ...


คำสั่ง เรื่อง แต่งตั้งคณะ...

คำสั่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ที่ 787/2...


ร่วมหล่อเทียนพรรษา...

ร่วมหล่อเทียนพรรษา ณ ศาลาธรรม สถาบันถ่ายทอดเทคโนโล...


กิจกรรมทั้งหมด