โครงการพัฒนาบุคลากรและนักวิจัยมืออาชีพเพื่อสร้างสรรค์งานวิจัยคุณภาพ

คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก ดำเนินโครงการพัฒนาบุคลากรและนักวิจัยมืออาชีพเพื่อสร้างสรรค์งานวิจัยคุณภาพ ในหัวข้อ "เทคนิคการเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับงานวิจัยและการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมืองานวิจัย" ในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 08.30 - 16.30 น. โดยระบบออนไลน์ผ่านไมโครซอฟท์ทีม วิทยากร ดร.ฐณัฐ วงศ์สายเชื้อ ผู้เชี่ยวชาญด้านสถิติและประชากร โดยมีคณบดี คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ผศ.นิศรา จันทร์เจริญสุข เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ และรองคณบดี คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ เขตพื้นที่พิษณุโลก ผศ.กานต์ธีรา โพธิ์ปาน และคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา และผู้สนใจ จาก 6 เขตพื้นที่ รวมจำนวนกว่า 200 คน เข้าร่วมการอบรมออนไลน์ครั้งนี้
เเชร์กิจกรรมนี้ :



เทคนิคการเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับงานวิจัยและการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมืองานวิจัย 1. การเลือกสถิติที่เหมาะสมจะต้องพิจารณาจาก หัวข้อโครงการวิจัย วัตถุประสงค์ ตัวแปรและมาตรวัดของตัวแปร 2. สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยประหนึ่งหรือสองกลุ่ม 3. การจัดกลุ่มของเครื่องมือแบบสอบถาม เป็นข้อมูลรูปธรรม (Hard Data) และข้อมูลนามธรรม (Soft Data) และการทดสอบคุณภาพเครื่องมือ โดยการทดสอบคุณภาพเครื่องมือทดสอบส่วนข้อมูลนามธรรม (Soft Data) โดยไม่ต้องทดสอบคุณภาพเครื่องมือ ทั้งการทดสอบความเที่ยง (Validity) และความเชื่อมั่น (Reliability) ผ่าน IOC 4. มาตรวัดของตัวแปรแบบลำดับ (Ordinal Scale) ที่ยอมรับได้เป็น Likert Scale เนื่องจากทำให้ค่าของตัวแปรไม่ต่อเนื่อง (Discrete) ของตัวแปรลำดับมีความใกล้เคียงลักษณะตัวแปรต่อเนื่อง (Continuous) 5. การวิเคราะห์ถดถอยจากตัวแปรนามมาตราหรือตัวแปรกลุ่ม (Nominal Scale) เช่น เพศ อาชีพ สามารถทำได้โดยการกำหนดให้ตัวแปรเป็นตัวแปรหุ่น (Dummy Variables) 6. การใช้โปรแกรมสำร็จรูปเพื่อการวิเคราะห์ทางสถิติ (SPSS) ในการวิเคราะห์แบบ Path Analysis 7. การใช้โปรแกรมสำร็จรูปเพื่อการวิเคราะห์ทางสถิติ (SPSS) ในการวิเคราะห์แบบ SEM