“เตาชีวมวลปั้นมือ” เปลี่ยนปัญหาหมอกควันเป็นพลังงาน

ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง องอาจ ส่องสี เจ้าของผลงานร่วม พันธวัฒน์ ไชยวรรณ์ , วิสูตร อาสนวิจิตร หน่วยงาน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ปีที่เผยแพร่ 2562 สาขาการวิจัย วิศวกรรมและเทคโนโลยี คำอธิบาย เนื่องจากในหมู่บ้านในตำบลแม่ปั๋งแห่งนี้มีต้นลำไยจำนวนมาก เมื่อเก็บเกี่ยวลำไยเสร็จแล้วเกษตรกรจะตัดกิ่งลำไยและเผาทิ้ง ทำให้เกิดปัญหาหมอกควัน แนวทางแก้ไขคือนำกิ่งลำไยไปเผาใน “เตาแก๊สซิไฟเออร์แบบปั้นมือ” ที่ทีมวิจัย สวทช.พัฒนาขึ้น เพื่อลดพฤติกรรมการเผาทิ้ง ตัวเนื้อเตาจะเป็นวัสดุที่สามารถหาได้ในหมู่บ้าน เพื่อให้เข้ากับวัตถุดิบของหมู่บ้าน การทำงานของเตาแก็สซิไฟเออร์คือ ต้องมีอากาศเข้าไปจุดเชื้อเพลิงในรอบที่หนึ่งเพื่อให้เกิดแก็สขึ้น และมีอากาศจากช่องที่สองเพื่อไปจุดควันให้ติด ค่าความร้อนเตาแก็สซิไฟเออร์นี้สูงกว่าเตาถ่านทั่วไป อีกทั้งใช้เชื้อเพลิงน้อยกว่า ก่อควันน้อยมาก ก้นหม้อไม่ดำ สามารถเพิ่ม ลดหรือหรี่เปลวไฟได้ง่าย ให้ความร้อนได้เร็วกว่า ไม่ร้าวง่าย และซ่อมแซมได้ง่าย อีกทั้งตอบโจทย์เรื่องการลดปัญหาหมอกควันได้ จากการที่ลดการเกิดควันจากการเผากิ่งไม้หรือซังข้าวโพดทิ้งอย่างเปล่าประโยชน์
เเชร์กิจกรรมนี้ :



คำค้นหา : เตาชีวมวลปั้นมือ, การลดปัญหาหมอกควัน มีคนติดตามอ่านผ่านทาง https://mgronline.com/science/detail/9610000014952